ข้อมูลพื้นฐาน รร

ทิศทางและกลยุทธ์การพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนบ้านนน้ำคิว

วิสัยทัศน์โรงเรียนบ้านนำคิว

“โรงเรียนชั้นดี  มีคุณภาพตามมาตรฐาน  มุ่งมั่นสู่สากล”

ปรัชญา         “ ความรู้ควบคู่คุณธรรม ”

          พันธกิจ

1.  จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาสู่สากล

2.  จัดการศึกษาให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และมีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3.  ส่งเสริมความรู้ความสามารถตามศักยภาพของนักเรียนอย่างทั่วถึง

4.   พัฒนาประสิทธิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่มืออาชีพ

5.  ปฏิบัติงานตามนโยบาย และระเบียบของทางราชการ ยึดหลักธรรมาภิบาลโดยความมีส่วนร่วมของชุมชน

           6.  สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล

 

เป้าประสงค์

1.   นักเรียนทุกคนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาสู่สากล

2.  นักเรียนทุกคนมี มีคุณธรรม จริยธรรม และมีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3.  นักเรียนทุกคนมีความรู้ความสามารถตามศักยภาพของตน มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย มีคุณภาพและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

4.  ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพและได้รับการพัฒนาเป็นมืออาชีพ

5.  โรงเรียนมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการตามหลักธรรมมาภิบาล โดยความมีส่วนร่วมของชุมชน

6.  โรงเรียนเมืองเลยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้มีระบบการจัดการความรู้ มีการถ่ายทอดความรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทั้งบุคลากรในสถานศึกษา ชุมชน ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

กลยุทธ์ของโรงเรียน 

1.  พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตร และส่งเสริมความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือแห่งการเรียนรู้สู่มาตรฐานสากล

2.  ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความรับผิดขอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และห่างไกลยาเสพติด

3.  ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงครอบคลุมผู้เรียนให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ และลดความเสี่ยงจากการออกกลางคันโดยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็ง

4.  พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ

5.  พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางการกระจายอำนาจทางการศึกษา หลักธรรมาภิบาล เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและความร่วมมือกับองค์กรส่วนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา

6.  พัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา   :  เป็นเลิศด้าน ICT

 

มาตรฐานการศึกษาโรงเรียนเมืองเลย

           โรงเรียนเมืองเลยได้กำหนดมาตรฐานการศึกษาโดยให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาจำนวน 4 มาตรฐาน  ดังนี้

มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของผู้เรียน

           1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

               1) ความสามารถในการอ่าน เขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณตามเกณฑ์ของแต่ละระดับชั้น

               2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ อภิปราย  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา

               3) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร

               4) ความก้าวหน้าทางการเรียนตามหลักสูตร

               5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาการจากผลการสอบวัดระดับชาติ

               6) ความพร้อมในการศึกษาต่อ การฝึกงาน หรือการทำงาน

           1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

     1. มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด โดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม

               2.  ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย

               3.  ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและความหลากหลาย

               4.  สุขภาวะทางร่างกาย และลักษณะจิตสังคม

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา

      1. การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน

                2. การวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

                     1) การวางแผนและดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้าน ทุกกลุ่มเป้าหมาย และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม

                     2) การวางแผนและดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

                     3) การวางแผนและการจัดการข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ

                     4) การวางแผนและจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

               3. การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และการร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

               4. การกำกับ ติดตาม ประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษา

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

               1. การมีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม

               2. การจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น

               3. การตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ

มาตรฐานที่ 4 ระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล

      การใช้ระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น